วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แหล่งท้องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง

จังหวัดอ่างทอง


        สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว

อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้วศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จหมู่บ้านทำกลองพระตำหนักคำหยาด ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทารามบ้านคูเมืองบ้านบางเจ้าฉ่าศูนย์ผลิตเครื่องใช้ประดับมุกศูนย์เจียระไนพลอยวังปลาวัดข่อยอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์บ้านทรงไทยจำลอง ส่วนประกอบบ้านทรงไทยศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง ศาลหลักเมืองสวนปลาสวนน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯพิพิธภัณฑ์สังคโลก สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณเมืองเอกพลาซ่า ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกที่มีคุณค่ากว่า 2,000 ชิ้น ที่ได้รวบรวมมาจากในประเทศ และ ต่างประเทศตั้งอยู่ที่ ถนนลำท่าแดง   เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน และประชาชน ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ เพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรงอยู่บริเวณใกล้สี่แยกไฟแดงหน้าเรือนจำจังหวัดอ่างทอง มีปลาช่อนอะเมซอนขนาดใหญ่จำนวนมาก และปลาพื้นเมืองอื่นๆ เช่น ปลาแรด ปลาสวาย ปลาเทโพ ฯลฯตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด เป็นอาคารจตุรมุข ตัวศาลสูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร ศาลหลักเมืองจังหวัดอ่างทองเป็นศาลหลักเมืองแห่งที่ 2 ที่มีการเขียนภาพ จิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้าน (ศาลหลักเมืองแห่งแรกที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังคือ ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ) ภายใน ศาลมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งสวยงามมาก ศาลหลักเมืองอ่างทองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สวยงามสมกับเป็นหลักชัยและหลักใจของประชาชนชาวอ่างทองอย่างยิ่ง ตั้งอยู่ถนนเลี่ยงเมือง   หลังโรงเรียนเทศบาลวัดชัยมงคล ได้ริเริ่มจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวอ่างทองและนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลความเป็นมาของจังหวัด อ่างทองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในแง่มุมต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของผู้คน วัฒนธรรม แบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ อ่างทองเมืองแม่น้ำสองสาย รอยต่อแห่งยุคสมัยวันวานแห่งการค้าริมน้ำ ภูมิปัญญาจากสายน้ำและแผ่นดิน และ ชวนเที่ยวเมืองอ่างทอง มีเทคนิคการจัดแสดงที่หลากหลาย ทั้งภาพประกอบคำบรรยายตามเส้นทางสายอยุธยา-ป่าโมก และตำบลโพสะ เป็นแหล่งทำส่วนประกอบของบ้านทรงไทยแบบต่างๆ ด้วยฝีมือเชิงช่างที่ละเอียดอ่อนเชี่ยวชาญสืบทอดจาก บรรพบุรุษอันคงความเป็นเอกลักษณ์แบบไทย นอกจากนี้ยังมีบ้านทรงไทยจำลองและสินค้าเฟอร์นิเจอร์ทำ จากไม้ตาลประเภทต่างๆ จำหน่ายตั้งอยู่ตำบลนรสิงห์   เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ และเป็นพันท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยสมัยพระเจ้าเสือ ซึ่งยืนยันขอรับโทษประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาลที่ไม่สามารถบังคับเรือพระที่นั่ง จนหัวเรือกระแทกกิ่งไม้หักลง เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไปอยู่บริเวณแม่น้ำน้อยหน้าวัดข่อย   ตำบลโพธิ์รังนก   ปลาที่วัดข่อยนี้มีจำนวนมากมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 พระครูสรกิจจาทรเป็นเจ้าอาวาสได้ปรับปรุงสถานที่และร่วมกับสำนักงานประมง อำเภอโพธิ์ทองประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ภายในวัดข่อยยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ศาลาการเปรียญไม้สัก ทรงไทยโบราณเสา 8 เหลี่ยม ใต้ถุนศาลาการเปรียญเป็นที่เก็บของเก่าประเภทต่างๆ เช่น จากจีน มีเรือประเภทต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว เรือสัมปั้นและเรือประทุน มีเครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งอุปกรณ์ในการทำนาได้แก่ เกวียน ล้อ คันไถ อุปกรณ์เครื่องมือการจับสัตว์น้ำ ไซดักปลา มีมณฑป วิหาร เจดีย์ พระอุโบสถ กุฏิ หอสวดมนต์ ซากโบราณ สถานของห้องเรียนโบราณ และยังมีของเก่าที่เก็บรักษาไว้เช่น ตะเกียงโบราณจากกรุงวอชิงตัน นาฬิกาโบราณจากปารีส และตู้พระไตรปิฎกไม้สักสมัยรัชกาลที่ 5 จากจีนหรือเปลกล่อมลูกแบบโบราณ ชาวบ้านยังมีการจัดตั้งศูนย์ผลิตข้าวซ้อมมือ ขึ้นเป็นสหกรณ์เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จัดแสดง เรือโบราณประเภทต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว และยังมีอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพของชาวนา เช่น ครก โม่ข้าว กระด้ง อันแสดงถึงวิถีชีวิตชาวไทยภาคกลางอยู่ในบริเวณเดียวกับแหล่งผลิตเครื่องจักสานที่บางเจ้าฉ่า เป็นศูนย์รวมการเจียระไนพลอยของหมู่บ้านและมีพลอยรูปแบบต่างๆ ที่สวยงามเป็นจำนวนมาก อยู่ที่วัดม่วงคัน มีการผลิตเครื่องใช้ประดับมุกฝีมือ ประณีตซึ่งมีทั้งชุดโต๊ะเครื่องแป้ง แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ ในบริเวณนั้นมีการทำหัตถกรรมในครัวเรือนอีกหลายแห่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ทอง เป็นแหล่งผลิตหัตถรรมจักสานไม้ไผ่และหวายที่เลื่องชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของภาคกลาง ภาชนะจักสานส่วนใหญ่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ กระบุงใส่ผ้า กระจาด กระเป๋าถืออยู่ในท้องที่ตำบลบ้านไผ่ ที่บ้านคูเมืองนี้นักโบราณคดีได้สำรวจพบซากเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชุมชน สมัยทวาราวดี มีร่องรอยเหลือเพียงคูเมืองขนาดกว้างกับเนินดิน ขุดพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ ลูกปัดและหินบดยา ปัจจุบันเป็นคูน้ำธรรมดา ไม่เห็นสภาพของโบราณสถานหลงเหลือ วัดจันทรารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านช้าง ตำบลโคกพุทรา ในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ค้างคาวแม่ไก่และ นกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ค้างคาวแม่ไก่เหล่านี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้ เป็นสีดำพรืดมองเห็นแต่ไกลซึ่งผู้สนใจสามารถไปชมได้ในทุกฤดูกาลอยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด สภาพปัจจุบันมีเพียงฝนัง 4 ด้าน ตัวอาคาร ตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยังคงเห็นเค้าความสวยงาม ทางด้านศิลปกรรมเช่น ลวดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง ภายในทาดินแดง ปูพื้นกระดานตั้งอยู่ที่ ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆ ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ ใช้ทำกลองได้แก่ ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว เราสามารถชมกรรมวิธีการทำกลองตั้งแต่เริ่มกลึง ท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นตอนการขึ้นกลอง การฝังหมุด กลองที่ทำมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงกลองขนาดใหญ่เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ โครงการตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จเป็นโครงการที่สมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ราษฎร ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม   เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี ของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญเพื่อปกป้อง แผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่าที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2309

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น