วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แหล่งท้องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี

จังหวัดสิงห์บุรี


        สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยที่มีความงดงามมาก มีความยาว 47 เมตร 42 เซนติเมตร   มีพระกาฬเป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ
วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์ ซึ่งพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้
วัดกระดังงาบุปผาราม ตั้งอยู่ตำบลบางกระบือ มีโบสถ์รูปทรงสมัยใหม่ที่งดงามไม่เหมือนโบสถ์แห่งไหนสร้างอยู่บนฐานศาลาการเปรียญหลังเก่า และวัดนี้ยังมีเจดีย์โบราณทรงระฆังคว่ำคล้ายเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเป็นชั้น มีซุ้มทรงระฆังตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป
วัดประโชติการาม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระบือ   เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ พุทธลักษณะงดงาม ศิลปะแบบสุโขทัยขนาดใหญ่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อทรัพย์และหลวงพ่อสิน   ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
วัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์   เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐานว่าสถานที่บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ 8 วา ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยการก่ออิฐเพิ่มเติมเป็นซุ้มจรนัมทั้งสี่ด้าน ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย
วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) ตั้งอยู่บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 21สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ย ภายในกลวง มีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา ด้านหลังมีวิหารเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์และคันทวยต่าง ๆ
แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์   เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 1914-2310 ลักษณะตัวเตาเป็นแบบระบายความร้อนเฉียงขึ้น ก่อด้วยอิฐ ตัวเตาบางส่วนคล้ายเรือประทุนจึงเรียก “เตาประทุน” แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ปล่องไฟ ห้องวางเครื่องปั้นดินเผา และห้องเชื้อเพลิง ตัวเตาเผาที่นับว่ามีขนาดใหญ่   และเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันไฟ เคยใช้เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผา
อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับยา คำว่า “แม่ลา” เป็นชื่อลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นลำน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ปลาที่จับได้จากลำน้ำแม่ลาจึงมีรสชาติอร่อย อ้วน เนื้อนุ่ม มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี
ตั้งอยู่ตำบลบางระจัน   เป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่มั่น ในการต่อต้านพม่าที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2308 ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดไม้แดง” เพราะภายในบริเวณ มีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าตัดหรือทำลาย ในบริเวณวัดมี “วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นวิหารทรงจตุรมุข พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และอุทยานค่ายบางระจัน ่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ จะเห็นอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน สร้างโดยกรมศิลปากรปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2519 ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญและเสียสละของวีรชนไทย ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจัน ได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่าซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง 8 ครั้ง ใช้เวลา 5 เดือน จึงเอาชนะได้ 
คูค่ายพม่า ตั้งอยู่ที่บ้านเจดีย์หัก   เป็นแหล่งชุมชนโบราณมีลักษณะเป็นเนินดินแนวยาว สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2127 ครั้งที่พม่ายกกองทัพมาตั้งที่ปากน้ำบางพุทราเพื่อรวบรวมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยา
วัดกุฎีทอง ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางน้ำเชี่ยว ภายในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยหลวงพ่อปัญญา อุตมะพิชัย เจ้าอาวาส ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอดและภายในมณฑปนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทโลหะจำลองไว้เป็นที่เคารพสักการะ
วัดพระปรางคมุนี ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงหมู่ ใกล้กับองค์พระปรางค์เป็น วิหารหลวงพ่อเย็น พระพุทธรูปปูนปั้นศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยา ด้านข้างวิหารมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นกรุพระเก่าแก่ที่ทางวัดได้ขุดดินบริเวณนั้นมากลบวิหาร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือชาวบ้านเขียนโดย นายเพ็ง คนลาว เมื่อราวปี พ.ศ. 2462 แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับนรก สวรรค์ แต่ยังคงความงดงามไม่แพ้ที่อื่น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์มาก่อน ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีและอุทัยธานี ได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 มีโบราณวัตถุที่สำคัญและเป็นที่รวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เช่น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้จากแหล่งโบราณบ้านคูเมือง แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย จัดแสดงเครื่องประดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ พัดยศ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ เครื่องถ้วยศิลปะไทย-จีน เครื่องดนตรีไทย ส่วนชั้นล่าง เป็นการละเล่นพื้นบ้าน เครื่องมือดักปลา เครื่องทอผ้า ตะเกียงโบราณ
เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน เป็นชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน มีเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีการขุดค้นพบภาชนะดินเผามากมาย และเหรียญเงินมีคำจารึกว่า “ศรีทวารวดีศวรปุญยะ” แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยฟูนัน จนถึงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันวัตถุโบราณที่ค้นพบได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี
วัดพิกุลทอง อยู่ในเขตตำบลวิหารขาว ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์) ภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอีกด้านหนึ่งของวัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว
วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น