วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กีฬาโอลิมปิก

คบเพลิงโอลิมปิก
      โคมไฟโอลิมปิก เมื่อมีการแข่งขันโอลิมปิกจะมีการจุดไฟกองใหญ่ขึ้นบนยอดเขาโอลิมปัส เพื่อให้ความสว่างไสว และเพื่อเป็นสัญญาณประกาศให้คนทั่วไปได้ทราบว่า การเฉลิมฉลองได้เริ่มขึ้นแล้ว พิธีการจุดไฟนั้น เริ่มแรกทำบนยอดเขาโอลิมปัส โดยใช้แว่นรวมแสงอาทิตย์ไปยังเชื้อเพลิง เมื่อติดไฟแล้ว จึงนำตะเกียงต่อเอาไว้ ไฟกองใหญ่จะคงลุกโชติช่วงต่อไปจนตลอดงานฉลอง ส่วนตะเกียงนั้นจะมีการวิ่งถือไปทั่วทุกนครรัฐ ด้วยการส่งต่อกันไปเป็นทอด ๆ จากนักวิ่ง คนละ 2 ไมล์ หากผ่านทะเลหรือแม่น้ำก็จะลงเรือข้ามฟากโดยไฟไม่ดับ ไฟนี้ชาวกรีก ถือว่าเป็นไฟศักดิ์สิทธิ์ และความสงบสุขของชาวกรีก ซึ่งพระเจ้าจะทรงพระพิโรธต่อบุคคลที่ไม่สนใจในกิจการนี้
      โอลิมปิกปัจจุบันก็ยังคงรักษาประเพณีเรื่องการจุดไฟไว้ดังเดิมทุกประการ กล่าวคือ ก่อนจะมีการแข่งขันจะมีพิธีจุดไฟ ณ เขาโอลิมปัส ผู้จุดคือ สาวพรหมจารีย์ผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ต่อไฟจากแว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์ด้วยคบเพลิง และไฟนี้จะถูกแจกจ่ายไปยังประเทศสมาชิกทั่วโลก และข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ประเทศเจ้าภาพ และมีการวิ่งถือคบเพลิงส่งต่อกันไปจุดที่กระถางใหญ่บริเวณงานในวันแรกของพิธีเปิดการแข่งขัน ไฟจะต้องไม่ดับตั้งแต่เริ่มจุด ณ ภูเขาโอลิมปัส จนกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้น ๆ

ธงโอลิมปิก
      ธงโอลิมปิกมีผืนธงเป็นสีขาว ขนาดมาตรฐานยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตร ส่วนเครื่องหมายห้าห่วงคล้องกันอยู่บนกลางธง ขนาด 2 เมตร คูณ 0.60 เมตร มีสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว สีแดง ตามลำดับจากซ้ายไปขวา คล้องไขว้กันอยู่ตรงกลางสองแถว แถวบน 3 ห่วง แถวล่าง 2 ห่วง ห่วงสีที่คล้องกันอยู่ตรงกลางธงบนพื้นธงสีขาว รวมเป็น 6 สี โดยแท้จริงแล้ว ห้าห่วงหมายถึง ห้าส่วนของโลกที่อยู่ในโอบอ้อมของ โอลิมปิกนิยมมิเจาะจงเป็นห้าทวีปในโลกอย่างที่เข้าใจกัน แต่บังเอิญห้าทวีปนี้ก็เป็นห้าส่วนของโลกก็เลยอนุโลมกันไปเช่นนั้น ส่วนสีที่ห่วง 5 สี มิได้หมายถึงสีประจำทวีป ซึ่งสีทั้งหมด 6 สี รวมทั้งสีขาวที่เป็นพื้นธง หมายความว่า ธงชาติของประเทศต่าง ๆ ในโลกประกอบด้วยสีใดสีหนึ่งหรือมากกว่านั้นในจำนวนหกสีนั้น และไม่มีธงชาติของประเทศใดที่มีสีนอกเหนือไปจากหกสีนี้
      ด้านล่างของห่วงมีคำอยู่ 3 คำ ซึ่งเป็นภาษาโรมัน แต่ละคำมีความหมายดังต่อไปนี้
      Citius (swifter) : ความเร็ว ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด
      Altius (higher) : ความสูง ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องทำให้สูงที่สุด
      Fortius (stronger) : ความแข็งแรง ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีความแข็งแกร่งที่สุด

สัญลักษณ์กีฬาโอลิมปิก ครั้งที่1-29
แถวที่ 1
ครั้งที่ 1 (ปี ค.ศ. 1896) กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
ครั้งที่ 2 (ปี ค.ศ. 1900) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ครั้งที่ 3 (ปี ค.ศ. 1904) เมืองเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 4 (ปี ค.ศ. 1908) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ครั้งที่ 5 (ปี ค.ศ. 1912) กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

แถวที่ 2
ครั้งที่ 7 (ปี ค.ศ. 1920) เมืองแอนท์เวิร์บ (Antwerp) ประเทศเบลเยียม
ครั้งที่ 8 (ปี ค.ศ. 1924) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ครั้งที่ 9 (ปี ค.ศ. 1928) กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
      
แถวที่3
ครั้งที่ 10 (ปี ค.ศ. 1932) เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 11 (ปี ค.ศ. 1936) กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
ครั้งที่ 14 (ปี ค.ศ. 1948) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ครั้งที่ 15 (ปี ค.ศ. 1952) กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์




แถวที่ 1
ครั้งที่ 16 (ปี ค.ศ. 1956) เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
ครั้งที่ 17 (ปี ค.ศ. 1960) กรุงโรม ประเทศอิตาลี
ครั้งที่ 18 (ปี ค.ศ. 1964) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
      
แถวที่ 2
ครั้งที่19 (ปี ค.ศ. 1968) กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก


แถวที่ 1
ครั้งที่ 20 (ปี ค.ศ. 1972) เมืองมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ครั้งที่ 21 (ปี ค.ศ. 1976) เมืองมอนทรีโอ ประเทศแคนาดา
ครั้งที่ 22 (ปี ค.ศ. 1980) กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต
      
แถวที่2
ครั้งที่ 23 (ปี ค.ศ. 1984) เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 24 (ปี ค.ศ. 1988) กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
ครั้งที่ 25 (ปี ค.ศ. 1992) กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน
      
แถวที่3
ครั้งที่ 26 (ปี ค.ศ. 1996) เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 27 (ปี ค.ศ. 2000) เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
ครั้งที่ 28 (ปี ค.ศ. 2004) กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ

หมายเหตุ : ครั้งที่ 6 (ปี ค.ศ. 1916) ไม่มีการจัดแข่งขัน เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1
                   ครั้งที่ 12 (ปี ค.ศ. 1940) และครั้งที่13 (ปี ค.ศ. 1944) ไม่มีการจัดแข่งขัน
                   เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2

  ครั้งที่ 29 "Beijing 2008"
      สัญลักษณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า "ปักกิ่งเริงระบำ" จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว "จิง" ซึ่งหมายถึง "เป่ยจิง (ปักกิ่ง)" อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบถอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ
      ภายหลังที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์โอลิมปิก "ปักกิ่งเริงระบำ" บรรดาผู้ผลิตต่างใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวประทับอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เสื้อยืด หมวก แสตมป์พวกกุญแจ และเหรียญที่ระลึก เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวกลายเป็นสินค้าที่ชาวเมืองปักกิ่งพากันแย่งเป็นเจ้าของ เพราะมีจำหน่ายในกรุงปักกิ่งแห่งเดียวเท่านั้น
      เสื้อยืดประทับตราโอลิมปิก 2008 ของแท้ ราคาประมาณ 100 หยวน เมื่อยกขึ้นส่องดูแล้วจะต้องโปร่งแสง เมื่อลูบจะต้องรู้สึกว่าตรานูนขึ้น เมื่อซักแล้วตราจะต้องไม่หลุดลอก และวัสดุที่ใช้ตัดเสื้อจะต้องเป็นผ้าฝ้ายเนื้อดี
      นอกจากนี้ จะเปิดตลาดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศก่อน ซึ่งเป็นระยะที่ 5 ของโครงการ คือ ตั้งแต่ปี 2001-2004 หลังจากนั้นในปี 2005-2008 ซึ่งเป็นระยะที่ 6 จะมีการขยายขอบเขตไปยังต่างประเทศ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น